Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การใช้ประโยชน์ของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศในการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆบนโลกและในอวกาศทำให้มีความรู้เกี่ยวกับอดีตและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงต่างๆ บนโลก

ประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ
ความก้าวหน้าของการสำรวจอวกาศอาจทำให้เกิดผลดี ดังนี้
  • มนุษย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ดีขึ้น และช่วยเปิดเผยความลี้ลับของวัตถุท้องฟ้าในอดีต
  • เทคโนโลยีอวกาศได้รับการพัฒนาและนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) เซลล์สุริยะ (solar cell) เป็นต้น
  • มนุษย์เกิดจินตนาการอันกว้างไกล มีความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับความเป็นมาของปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
  • เกิดแนวคิดในการค้นคว้าหาทรัพยากรจากอวกาศ และหาแหล่งที่อยู่ใหม่นอกโลกเมื่อเกิดปัญหาอัตราการเพิ่มประชากรมนุษย์จนขาด แหล่งที่อยู่อาศัย
ในขณะเดียวกันความก้าวหน้าของการสำรวจอวกาศอาจทำให้เกิดผลเสีย ดังนี้

16-03-52
  • ค่าใช้จ่ายในการสำรวจอวกาศสูง
  • ในการส่งจรวดหรือยานอวกาศขึ้นสู่อวกาศมีผลกระทบกับชั้นบรรยากาศของโลก
  • ปัญหาดาวเทียมหรือยานอวกาศที่หมดอายุการใช้งานกลายเป็นขยะอวกาศ
  • การส่งจรวดขึ้นสู่อวกาศบางครั้งเกิดความผิดพลาด ทำให้สูญเสียชีวิตของนักบินอวกาศ
  • ความก้าวหน้าทางด้านอวกาศอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการใช้เทคโนโลยีในด้านการทำลาย
ปัจจุบันมนุษย์ส่งดาวเทียมขึ้นไปในอวกาศเพื่อประโยชน์ในกิจการต่างๆ ดังนี้

1. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เป็นดาวเทียมที่มีอุปกรณ์ถ่ายภาพเมฆ และเก็บข้อมูลของบรรยากาศในระดับสูง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำมาใช้ในการพยากรณ์อากาศได้ถูกต้อง รวดเร็ว รวมทั้งเฝ้าสังเกตการก่อตัว การเปลี่ยนแปลง และการเคลื่อนตัวของพายุที่เกิดขึ้นบนโลก เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดขึ้น 2. ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก เป็นดาวเทียมที่มีอุปกรณ์สำรวจแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เฝ้าสังเกตสภาวะแวดล้อมที่เกิดบนโลก นอกจากนั้นยังให้ข้อมูลทั้งด้านการเกษตร ป่าไม้ ธรณีวิทยา สมุทรศาสตร์ ประมง การทำแผนที่ใช้ดิน เช่น ช่วยเตือนภัยเรื่องอุทกภัยและความแห้งแล้งเกิดขึ้น สำรวจพื้นที่ที่มีการตัดไม้ทำลายป่า แหล่งน้ำเสีย แหล่งปลาชุม เป็นต้น
3. ดาวเทียมสื่อสาร เป็นดาวเทียมที่มีอุปกรณ์สื่อสารติดตั้งอยู่ และอยู่ประจำตำแหน่งเดิม เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารข้ามทวีป ทั้งด้านการถ่ายทอดโทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ เป็นต้น ความก้าวหน้าของระบบสื่อสารเป็นการผลักดันให้สังคมโลกเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าว สาร
4. ดาวเทียมสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ เป็นดาวเทียมที่มีกล้องโทรทรรศน์และอุปกรณ์ดาราศาสตร์สำหรับศึกษา สำรวจ ตรวจวัด วัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ดาวเทียมสังเกตการณ์ดาราศาสตร์มีทั้งประเภทที่โคจรรอบโลก และประเภทที่โคจรผ่านไปใกล้ดาวเคราะห์หรือลงสำรวจดาวเคราะห์ ซึ่งเรียกดาวเทียมประเภทหลังนี้ว่า ยานอวกาศ เช่น ยานอวกาศวอยเอเจอร์ที่โคจรเฉียดดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน เป็นต้น
5. กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่นำขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2533 เป็นกล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง มีมวลประมาณ 11,360 กิโลกรัม ใช้พลังงานจากเซลล์สุริยะที่ปีก 2 ข้าง เพื่อเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บไว้ในแบตเตอรี่นิกเกิล2ไฮโดรเจน ขนาดใหญ่ 6 ตัว เพื่อใช้งานเมื่อกล้องไม่ได้รับแสงอาทิตย์เนื่องจากโคจรไปอยู่ในเงาของโลก อุปกรณ์ที่นำติดไปกับกล้องฮับเบิลคือ ระบบคอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายภาพมุมกว้าง เครื่องตรวจวัดสเปกตรัม เครื่องปรับทิศทางของกล้อง เป็นต้น ศูนย์ควบคุมบนพื้นโลกจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในกล้องฮับเบิล และส่งข้อมูลกลับมาที่ศูนย์ควบคุมเพื่อศึกษารายละเอียดของวัตถุท้องฟ้าได้ กว้างไกลกว่าเดิม เพราะกล้องฮับเบิลสามารถส่องไปได้ไกลถึง 14,000 ล้านปีแสง
จากอดีตถึงปัจจุบันวิทยาการทางด้านวิทยาศาสตร์ได้รับการพัฒนาอย่างกว้างไกล มีโครงการอวกาศหลากหลาย บางโครงการสิ้นสุดไปแล้ว บางโครงการยังดำเนินการอยู่ บางโครงการตั้งขึ้นมาใหม่ โครงการอวกาศเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งช่วยให้มนุษย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดาราศาสตร์มากขึ้น

อ้างอิง
-http://www.maceducation.com/e-knowledge/2502201100/15.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น