Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การใช้ประโยชน์ของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศในการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆบนโลกและในอวกาศทำให้มีความรู้เกี่ยวกับอดีตและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงต่างๆ บนโลก

ประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ
ความก้าวหน้าของการสำรวจอวกาศอาจทำให้เกิดผลดี ดังนี้
  • มนุษย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ดีขึ้น และช่วยเปิดเผยความลี้ลับของวัตถุท้องฟ้าในอดีต
  • เทคโนโลยีอวกาศได้รับการพัฒนาและนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) เซลล์สุริยะ (solar cell) เป็นต้น
  • มนุษย์เกิดจินตนาการอันกว้างไกล มีความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับความเป็นมาของปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
  • เกิดแนวคิดในการค้นคว้าหาทรัพยากรจากอวกาศ และหาแหล่งที่อยู่ใหม่นอกโลกเมื่อเกิดปัญหาอัตราการเพิ่มประชากรมนุษย์จนขาด แหล่งที่อยู่อาศัย
ในขณะเดียวกันความก้าวหน้าของการสำรวจอวกาศอาจทำให้เกิดผลเสีย ดังนี้

16-03-52
  • ค่าใช้จ่ายในการสำรวจอวกาศสูง
  • ในการส่งจรวดหรือยานอวกาศขึ้นสู่อวกาศมีผลกระทบกับชั้นบรรยากาศของโลก
  • ปัญหาดาวเทียมหรือยานอวกาศที่หมดอายุการใช้งานกลายเป็นขยะอวกาศ
  • การส่งจรวดขึ้นสู่อวกาศบางครั้งเกิดความผิดพลาด ทำให้สูญเสียชีวิตของนักบินอวกาศ
  • ความก้าวหน้าทางด้านอวกาศอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการใช้เทคโนโลยีในด้านการทำลาย
ปัจจุบันมนุษย์ส่งดาวเทียมขึ้นไปในอวกาศเพื่อประโยชน์ในกิจการต่างๆ ดังนี้

1. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เป็นดาวเทียมที่มีอุปกรณ์ถ่ายภาพเมฆ และเก็บข้อมูลของบรรยากาศในระดับสูง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำมาใช้ในการพยากรณ์อากาศได้ถูกต้อง รวดเร็ว รวมทั้งเฝ้าสังเกตการก่อตัว การเปลี่ยนแปลง และการเคลื่อนตัวของพายุที่เกิดขึ้นบนโลก เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดขึ้น 2. ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก เป็นดาวเทียมที่มีอุปกรณ์สำรวจแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เฝ้าสังเกตสภาวะแวดล้อมที่เกิดบนโลก นอกจากนั้นยังให้ข้อมูลทั้งด้านการเกษตร ป่าไม้ ธรณีวิทยา สมุทรศาสตร์ ประมง การทำแผนที่ใช้ดิน เช่น ช่วยเตือนภัยเรื่องอุทกภัยและความแห้งแล้งเกิดขึ้น สำรวจพื้นที่ที่มีการตัดไม้ทำลายป่า แหล่งน้ำเสีย แหล่งปลาชุม เป็นต้น
3. ดาวเทียมสื่อสาร เป็นดาวเทียมที่มีอุปกรณ์สื่อสารติดตั้งอยู่ และอยู่ประจำตำแหน่งเดิม เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารข้ามทวีป ทั้งด้านการถ่ายทอดโทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ เป็นต้น ความก้าวหน้าของระบบสื่อสารเป็นการผลักดันให้สังคมโลกเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าว สาร
4. ดาวเทียมสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ เป็นดาวเทียมที่มีกล้องโทรทรรศน์และอุปกรณ์ดาราศาสตร์สำหรับศึกษา สำรวจ ตรวจวัด วัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ดาวเทียมสังเกตการณ์ดาราศาสตร์มีทั้งประเภทที่โคจรรอบโลก และประเภทที่โคจรผ่านไปใกล้ดาวเคราะห์หรือลงสำรวจดาวเคราะห์ ซึ่งเรียกดาวเทียมประเภทหลังนี้ว่า ยานอวกาศ เช่น ยานอวกาศวอยเอเจอร์ที่โคจรเฉียดดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน เป็นต้น
5. กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่นำขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2533 เป็นกล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง มีมวลประมาณ 11,360 กิโลกรัม ใช้พลังงานจากเซลล์สุริยะที่ปีก 2 ข้าง เพื่อเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บไว้ในแบตเตอรี่นิกเกิล2ไฮโดรเจน ขนาดใหญ่ 6 ตัว เพื่อใช้งานเมื่อกล้องไม่ได้รับแสงอาทิตย์เนื่องจากโคจรไปอยู่ในเงาของโลก อุปกรณ์ที่นำติดไปกับกล้องฮับเบิลคือ ระบบคอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายภาพมุมกว้าง เครื่องตรวจวัดสเปกตรัม เครื่องปรับทิศทางของกล้อง เป็นต้น ศูนย์ควบคุมบนพื้นโลกจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในกล้องฮับเบิล และส่งข้อมูลกลับมาที่ศูนย์ควบคุมเพื่อศึกษารายละเอียดของวัตถุท้องฟ้าได้ กว้างไกลกว่าเดิม เพราะกล้องฮับเบิลสามารถส่องไปได้ไกลถึง 14,000 ล้านปีแสง
จากอดีตถึงปัจจุบันวิทยาการทางด้านวิทยาศาสตร์ได้รับการพัฒนาอย่างกว้างไกล มีโครงการอวกาศหลากหลาย บางโครงการสิ้นสุดไปแล้ว บางโครงการยังดำเนินการอยู่ บางโครงการตั้งขึ้นมาใหม่ โครงการอวกาศเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งช่วยให้มนุษย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดาราศาสตร์มากขึ้น

อ้างอิง
-http://www.maceducation.com/e-knowledge/2502201100/15.htm

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศและโครงการอวกาศที่สำคัญ โครงการอวกาศสตาร์ดัสต์ โครงการ Gemini โครงการอะพอลโล โครงการไวกิ้ง โครงการวอยเอเจอร์

เทคโนโลยีอวกาศ (Technology)
                     เทคโนโลยี อวกาศ คือการสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่นอกโลกของเราและสำรวจโลกของเราเองด้วย ปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศได้มีการพัฒนาไปเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน ทำให้ได้ความรู้ใหม่ๆมากขึ้น โดยองค์การที่มีส่วนมากในการพัฒนาทางด้านนี้คือองค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกา ได้มีการจัดทำโครงการขึ้นมากมาย ทั้งเพื่อการสำรวจดาวที่ต้องการศึกษาโดยเฉพาะและที่ทำขึ้นเพื่อศึกษาสิ่ง ต่างๆในจักรวาล การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศนั้นมีทั้งด้านการสื่อสาร ทำให้การสื่อสารในปัจจุบันทำได้อย่างรวดเร็ว  การสำรวจทรัพยากรโลก ทำให้ทราบว่าปัจจุบันนี้โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง   และการพยากรณ์อากาศก็จะทำให้สามารถเตรียมพร้อมที่จะรับกับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปได้
                                                                    
                                                           

จรวดและยานอวกาศ
        อวกาศอยู่สูงเหนือศีรษะขึ้นไปเพียงหนึ่งร้อยกิโลเมตร แต่การที่จะขึ้นไปถึงมิใช่เรื่องง่าย เซอร์ไอแซค นิวตัน นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้คิดค้นทฤษฎีเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกและการเดินทางสู่อวกาศเมื่อสามร้อยปีมาแล้ว ได้อธิบายไว้ว่า หากเราขึ้นไปอยู่บนที่สูง และปล่อยก้อนหินให้หล่นจากมือ ก้อนหินก็จะตกลงสู่พื้นในแนวดิ่ง เมื่อออกแรงขว้างก้อนหินออกไปให้ขนานกับพื้น (ภาพที่ 3) ก้อนหินจะเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้ง (A) เนื่องจากแรงลัพธ์ซึ่งเกิดจากแรงที่เราขว้างและแรงโน้มถ่วงของโลกรวมกัน หากเราออกแรงมากขึ้น วิถีการเคลื่อนที่ของวัตถุจะโค้งมากขึ้น และก้อนหินจะยิ่งตกไกลขึ้น (B) และหากเราออกแรงมากจนวิถีของวัตถุขนานกับความโค้งของโลก ก้อนหินก็จะไม่ตกสู่พื้นโลกอีก แต่จะโคจรรอบโลกเป็นวงกลม (C) เราเรียกการตกในลักษณะนี้ว่า “การตกอย่างอิสระ” (free fall) และนี่เองคือหลักการส่งยานอวกาศขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก
หากเราเพิ่มแรงให้กับวัตถุมากขึ้นไปอีก เราจะได้วงโคจรเป็นรูปวงรี (D) และถ้าเราออกแรงขว้างวัตถุไปด้วยความเร็ว 11.2 กิโลเมตรต่อวินาที วัตถุจะไม่หวนกลับคืนอีกแล้ว แต่จะเดินทางออกสู่ห้วงอวกาศ (E) เราเรียกความเร็วนี้ว่า “ความเร็วหลุดพ้น” (escape speed) และนี่คือหลักการส่งยานอวกาศไปยังดาวเคราะห์ดวงอื่น
หมายเหตุ: ในทางปฏิบัติเราไม่สามารถยิงจรวดขึ้นสู่อวกาศในแนวราบได้ เพราะโลกมีบรรยากาศห่อหุ้มอยู่ ความหนาแน่นของอากาศจะต้านทานให้จรวดเคลื่อนที่ช้าลงและตกลงเสียก่อน ดังนั้นเราจึงส่งจรวดขึ้นสู่ท้องฟ้าในแนวดิ่ง แล้วค่อยปรับวิถีให้โค้งขนานกับผิวโลก เมื่ออยู่เหนือชั้นบรรยากาศในภายหลัง
จรวด (Rocket)
เมื่อพูดถึงจรวด เราหมายถึงอุปกรณ์สำหรับสร้างแรงขับดันเท่านั้น หน้าที่ของจรวดคือ การนำยานอวกาศ ดาวเทียม หรืออุปกรณ์ประเภทอื่นขึ้นสู่อวกาศ แรงโน้มถ่วง (Gravity) ของโลก ณ พื้นผิวโลกมีความเร่งเท่ากับ 9.8 เมตร/วินาที 2 ดังนั้นจรวดจะต้องมีแรงขับเคลื่อนสูงมาก เพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก

จรวดทำงานตามกฎของนิวตัน ข้อที่ 3 “แรงกริยา = แรงปฏิกิริยา” จรวดปล่อยก๊าซร้อนออกทางท่อท้าย (แรงกริยา) ทำให้จรวดเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (แรงปฏิกิริยา)
เราแบ่งประเภทของจรวดตามชนิดของเชื้อเพลิงออกเป็น 2 ประเภท คือ
-จรวดเชื้อเพลิงแข็ง มีโครงสร้างไม่สลับซับซ้อน แต่เมื่อการเผาไหม้เชื้อเพลิงเกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถหยุดได้
-จรวดเชื้อเพลิงเหลว มีโครงสร้างสลับซับซ้อน เพราะต้องมีถังเก็บเชื้อเพลิงเหลว และออกซิเจนเหลว (เพื่อช่วยให้เกิดการสันดาป) ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และยังต้องมีท่อและปั๊มเพื่อลำเลียงเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเครื่องยนต์เพื่อทำการเผาไหม้ จรวดเชื้อเพลิงเหลวมีข้อดีคือ สามารถควบคุมปริมาณการเผาไหม้ และปรับทิศทางของกระแสก๊าซได้
จรวดหลายตอน
          การนำจรวดขึ้นสู่อวกาศนั้นจะต้องทำการเผาไหม้เชื้อเพลิงจำนวนมาก เพื่อให้เกิดความเร่งมากกว่า 9.8 เมตร/วินาที2 หลายเท่า ดังนั้นจึงมีการออกแบบถังเชื้อเพลิงเป็นตอนๆ เราเรียกจรวดประเภทนี้ว่า “จรวดหลายตอน” (Multistage rocket) เมื่อเชื้อเพลิงตอนใดหมด ก็จะปลดตอนนั้นทิ้ง เพื่อเพิ่มแรงขับดัน (Force) โดยการลดมวล (mass) เพื่อให้จรวดมีความเร่งมากขึ้น (กฎของนิวตัน ข้อที่ 2: ความเร่ง = แรง / มวล)
ความแตกต่างระหว่างเครื่องบินไอพ่น และจรวด
         เครื่องยนต์ของเครื่องบินไอพ่นดูดอากาศภายนอกเข้ามาอัดแน่น และทำการสันดาป (เผาไหม้) ทำให้เกิดแรงดันไปข้างหน้า จนปีกสามารถสร้างแรงยก (ความดันอากาศบนปีกน้อยกว่าความดันอากาศใต้ปีก) ทำให้เครื่องลอยขึ้นได้ ส่วนจรวดบรรจุเชื้อเพลิงและออกซิเจนไว้ภายใน เมื่อทำการสันดาปจะปล่อยก๊าซร้อนพุ่งออกมา ดันให้จรวดพุ่งไปในทิศตรงกันข้าม

จรวดไม่ต้องอาศัยอากาศภายนอก มันจึงเดินทางในอวกาศได้ ส่วนเครื่องบินต้องอาศัยอากาศทั้งในการสร้างแรงยก และการเผาไหม้

โครงการอวกาศที่สำคัญ
โครงการอวกาศสตาร์ดัสต์                
โครงการ Gemini
โครงการอะพอลโล 
โครงการไวกิ้ง
โครงการวอยเอเจอร์
โครงการอวกาศาสตาร์ดัสต์
 
 
    โครงการอวกาศสตาร์ดัสต์ (Stardust) หรือ "ละอองดาว" คือโครงการที่จะส่งยานอวกาศในราวเดือนกุมภาพันธ์ 2542 ไปยังดาวหางที่มีชื่อว่า วีล-ทู (Wild-2) โดยคาดว่าจะไปถึงในเดือนมกราคม 2547 วิธีส่งยานไปนั้น จะใช้วิธีที่เรียกว่า Gravity Assist คืออาศัยแรงเหวี่ยงจากสนามแรงโน้มถ่วงของโลกมาช่วยผ่อนแรง ในรอบแรก ตัวยานจะโคจรเวียนรอบโลก เพื่ออาศัยแรงเหวี่ยงของโลกเหวี่ยงยานให้ขึ้นสู่วงโคจรที่ยืดออกกว้างขึ้นไป จนวนรอบดวงอาทิตย์ได้ในเวลาสองปีครึ่ง วงโคจรจะยืดออกไปไกลจนเข้าสู่วงโคจรของดาวหาง วีล-ทู ได้ในปี .. 2557 การทำเช่นนี้ ส่วนหนึ่งก็เพื่อเอาแรงโน้มถ่วงของโลกมาช่วยประหยัดเชื้อเพลิง อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ ยานจะได้เข้าใกล้ดาวหางด้วยความเร็วไม่สูงเกินไปนัก เพื่อจะจับละอองดาวอย่างละมุนละม่อม ไม่ให้บอบช้ำนัก จะได้เอามาศึกษาภายหลัง
 
หลังจากที่ใช้เวลาเดินทางเป็นเวลาห้าปี ยานสตาร์ดัสต์จะไปวนโคจรรอบดาวหางสองรอบ รอบแรกเป็นการบินผ่านไปถ่ายรูป รอบหลังเพื่อเก็บฝุ่นดาวหางที่เพิ่งระเหิดหลุดจากส่วนหัว หรือ โคม่า (coma) กลับมาศึกษา นับว่าเป็นครั้งแรกในโลกที่เราจะเก็บละอองดาวจากตัวดาวหางและนำกลับมายังโลก และนับเป็นโครงการอวกาศโครงการแรกที่มีเป้าหมายหลักเพื่อการศึกษาดาวหางโดยตรง และยังมีผลพลอยได้อีก คือ ยานสตาร์ดัสต์จะเก็บฝุ่นระหว่างดวงดาว (interstellar dust) จากอวกาศกลับมาพร้อมกันด้วย
 
โครงการ Gemini
 โครงการอวกาศโครงการที่ 2 ของสหรัฐฯ ประกาศในเดือนมกราคม 1962. เป็นโครงการที่ส่งมนุษย์อวกาศ ครั้งละสองคน และให้ชื่อว่า Gemini โครงการนี้เป็นโครงการ ต่อเนื่องระหว่างโครงการ Mercury ไปจนถึงคนไปลงบนดวงจันทร์ ความสำเร็จของโครงการ มีความสำคัญมากต่อการไปดวงจันทร์ จุดมุ่งหมายของการเดินทางของ Gemini ทั้ง 10 เที่ยว ใช้ระยะเวลา 20 เดือน จาก 1965 ถึง 1966 คือ
       1) ให้ทั้งคน และเครื่องมือ อยู่ในอวกาศ ยาวสองอาทิตย์ 
      2) จุดนัดพบและการเชื่อมต่อ ระหว่างยานอวกาศด้วยกัน
      3) ด้วยวิธีการกลับเข้าสู่บรรยากาศของโลก และลงสู่พื้นในที่ กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งเพียงพอที่จะใช้กับการเดินทางของ Apollo ต่อไปจากโครงการ Gemini ทำให้คนอเมริกันสามารถลบภาพ ความสงสัย ในความสามารถไปดวงจันทร์ลงได้ โครงการ Gemini ได้ทำหลายๆอย่าง เช่นการมาพบกันของยานอวกาศ และ การ ต่อเชื่อมเข้าด้วยกัน.
 
 
ยาน Gemini คือการขยายยาน Mercury ให้ใหญ่ขึ้นซึ่งมีขนาดความยาว 5.8 เมตร (19 ฟุต ) , มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร.( 10 ฟุต ) , ยานต้องบรรทุกมนุษย์อวกาศ 2 คน.Gemini ประกอบด้วยสองส่วนหลักคือ ส่วนที่เรียกว่า อะแดปเตอร์ และ ส่วนรีเอนทรี ก่อนที่จะกลับสู่โลก ส่วนรีเอนทรีจะแยกออกจากส่วน อะแดปเตอร์ และ ทิ้งส่วนอะแดปเตอร์ ไว้ในอวกาศ โดยไม่เก็บกลับมา ยานอวกาศ Gemini ใช้จรวด Titan ซึ่งมีกำลังขับเคลื่อนมากกว่าจรวด Redstone ในการส่งยานอวกาศ ขึ้นสู่วงโคจร และ ยานอวกาศ Gemini ลำแรก เท่านั้น ที่มีชื่อเล่นว่า " MOLLY BROWN ". 

โครงการอะพอลโล
 
  เมื่อโครงการเมอร์คิวรีพิสูจน์และยืนยันว่า การส่งมนุษย์ขึ้นไปโคจรในอวกาศสามารถเป็นไปได้ นาซาจึงเริ่มโครงการอะพอลโล โดยเป็นความพยายามส่งมนุษย์ไปโคจรรอบดวงจันทร์ โดยยังไม่มีเป้าหมายส่งมนุษย์เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์แต่อย่างใด ทิศทางของโครงการอะพอลโลเปลี่ยนไปเมื่อประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี  ประกาศเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม .. 2504 (ค.ศ. 1961) ว่าสหรัฐอเมริกาจะ "ส่งมนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์แล้วกลับสู่โลกอย่างปลอดภัย" ภายในปี .. 2513 (ค.ศ. 1970) โครงการอะพอลโลจึงกลายเป็นโครงการนำมนุษย์ลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โครงการเจมินีเริ่มต้นขึ้นไม่นานหลังจากนั้น เพื่อทดสอบและยืนยันเทคนิค ที่จำเป็นต้องใช้กับโครงการอะพอลโลที่ซับซ้อนขึ้น  บัซซ์ อัลดริน ก้าวเดินบนพื้นผิวดวงจันทร์ ในการเดินทางไปกับยานอะพอลโล 11
 อ้างอิง
-http://darasate.spaces.live.com/default.aspx?sa=333901128
-http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/jantip_k/sec06p04.htm

ตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะในกาแล็กซี อิทธิพลของดวงอาทิตย์ที่มีต่อโลก

กาแล็กซีทางช้างเผือกกับตำแหน่งของโลก
"เตคีออน"
ตำแหน่งของโลกที่อยู่ใกล้ขอบนอกของกาแล็กซีทางช้าง เผือก เป็นตำแหน่งดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับตำแหน่งของโลก ถ้าไปเกิดอยู่ใกล้แถบบริเวณใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก
สำหรับผลกระทบจากสิ่งที่มนุษย์เพิ่งทราบว่า มีอยู่ที่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก สิ่งนั้นคือ หลุมดำยักษ์ !
หลุมดำ หรือ Black Hole เป็นวัตถุที่แปลกชวนพิศวงในอวกาศ เป็นซากดวงดาว หรือวาระสุดท้ายแบบหนึ่งของดาวฤกษ์ ซึ่งเมื่อพบกับวาระสุดท้าย
ก็เปลี่ยนสภาพไปเป็นดาวล่องหน คือ ยังมีตัวตนอยู่ แต่ไม่สามารถจะส่องเห็นได้ โดยที่อิทธิพลจากแรงดึงดูดโน้มถ่วงของมวลก็ยังคงมีอยู่
หลุมดำ มีทั้งที่เป็นหลุมดำซากดาวฤกษ์เดี่ยวๆ (แต่ที่ค้นพบแล้ว มักเป็นหลุมดำที่เป็นดาวคู่แฝดกับดาวฤกษ์ธรรมดาอีกดวงหนึ่ง)
ดังเช่น ซิกนัส เอกซ์-1 (Cygnus X-1) อยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือก และหลุมดำขนาดยักษ์อยู่ที่ใจกลางกาแล็กซีส่วนใหญ่
สำหรับกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา มีหลักฐานคือ รังสีเอ็กซ์เข้มข้นออกมาจากแถบบริเวณใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก
ซึ่งคำอธิบายเป็นไปได้มากที่สุด คือ รังสีเอ็กซ์เกิดจากการที่ก๊าซร้อนมีประจุไฟฟ้า อันเป็นมวลสารของดวงดาวและบรรดาก๊าซในแถบบริเวณนั้น
ถูกแรงดึงดูดโน้มถ่วงมหาศาลของหลุมดำยักษ์ ดึงดูดวิ่งวนเข้าหา และก็เป็นธรรมชาติของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า
ถ้าเคลื่อนที่ด้วยความเร่งสูง ก็จะต้องปล่อยพลังงานในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา จากความเข้มและระดับพลังงาน คือ ความถี่ของรังสีเอ็กซ์
ที่กล้องโทรทรรศน์ของโลกจับได้ นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถคำนวณได้ว่า หลุมดำที่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก มีมวลประมาณเท่าใด...
และเมื่อกลางปี ค.ศ.2000 ก็มีข้อมูลใหม่จากคณะนักดาราศาสตร์โลก ซึ่งได้ศึกษาสภาพการเคลื่อนที่ของบรรดาดาวฤกษ์รอบๆ
หลุมดำยักษ์ เพื่อหาตำแหน่งและมวลที่แน่ชัดขึ้นของหลุมดำยักษ์ สรุปออกมาว่า หลุมดำยักษ์ที่แถบบริเวณใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก
มีมวลประมาณ 2.6 ล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์
ดังนั้น ถ้าโลกมีตำแหน่งอยู่ในแถบบริเวณใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก ก็จะถูกคุกคามโดยหลุมดำยักษ์ด้วย
แล้วตำแหน่งของดาวเคราะห์โลกที่อยู่แถบขอบนอกของกาแล็กซีทางช้างเผือก จะปลอดภัยจากหลุมดำยักษ์ที่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกหรือ ?
เป็นความจริงว่า หลุมดำยักษ์ที่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก มีแต่จะเพิ่มมวลมากขึ้น
เพราะดึงดูดหรือกลืนกินบรรดาดวงดาวและก๊าซในแถบบริเวณใกล้เคียง ทำให้หลุมดำเสมือนหนึ่งมีขนาดโตขึ้น และเป็นไปได้ว่า ในที่สุดแล้ว
กาแล็กซีทางช้างเผือกทั้งกาแล็กซี จะกลายเป็นหลุมดำไปทั้งหมด ซึ่งถ้าโลกยังอยู่ถึงวันที่หลุมดำยักษ์ของกาแล็ก ซีทางช้างเผือกขยายขนาด
จริงๆ แล้ว เป็นการขยายแนวเส้นขอบฟ้าเหตุการณ์ หรือ Event Horizon ของหลุมดำ เพราะมวลทั้งหมดของหลุมดำ จะไปรวมกันที่ตำแหน่งใจกลาง เรียก Singularity มาใกล้โลก โลกก็จะถูกกลืนกินโดยหลุมดำยักษ์ !
แต่...ตามความรู้เกี่ยวกับระบบสุริยะดีที่สุดถึง ปัจจุบัน โลกจะอยู่ไม่ถึงวันที่หลุมดำยักษ์ของกาแล็กซีทางช้างเผือกขยายขนาดมาถึงโลก เ
พราะโลกจะพบกับวาระสุดท้ายเสียก่อนในอีกประมาณ ห้าพันล้านปีข้างหน้า จากการขยายตัวของดวงอาทิตย์ที่จะเปลี่ยนสภาพไปเป็นดาวยักษ์แดง
ดังนั้น มนุษย์โลกจึงน่าจะยินดีที่มีกำเนิดอยู่บนดาวเคราะห์โลก ที่มีตำแหน่งดีที่สุดตำแหน่งหนึ่งในกาแล็กซีทางช้างเผือก
และช่วยกันบำรุงรักษาดาวเคราะห์โลกให้ดีที่สุด ขณะเดียวกัน ก็พยายามเรียนรู้เกี่ยวกับอวกาศและจักรวาล ที่จะต้องเป็นบ้านใหม่ของมนุษย์ต่อไปในอนาคต

 

 อิทธิพลของดวงอาทิตย์ที่มีต่อโลก
 ดวงอาทิตย์ทำให้สภาพภูมิอากาศของโลกแตกต่างกัน  เขตต่างๆ ของโลกที่สำคัญๆ คือ
เขตร้อน เขตอบอุ่น และเขตหนาว เพราะเขตร้อนได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ที่มีระยะทางสั้นที่สุด    จึงทำ
ให้ร้อนที่สุด ส่วนเขตอบอุ่น เขตหนาว ระยะของแสงจะยาวขึ้นไปตามลำดับ




































ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดการหมุนเวียนของกระแสอากาศ ในเวลาเดียวกัน
 แต่ละเขตแต่ละถิ่นจะได้รับแสงอาทิตย์ไม่เท่ากันและระบายความร้อนไม่เท่ากัน    เมื่ออากาศ ณ ที่แห่งหนึ่ง
ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์จะมีคุณสมบัติเบาขยายตัวลอยสูงขึ้น    ณ ที่อีกแห่งหนึ่งมวลอากาศเย็น ซึ่งมี
ความหนาแน่นมากกว่าเคลื่อนตัวเข้ามาแทนที่ ขณะที่มวลอากาศที่เย็นกว่าเคลื่อนตัวมาแทนที่ เราเรียกว่า “ลม” 
หรือการหมุนเวียนของกระแสอากาศ    และแต่ละแห่งของโลกจะมีอุณหภูมิแตกต่างกันตามเขตร้อน เขตอบอุ่น 
เขตหนาว จะมีลมประจำปีคือ    ลมมรสุม ลมตะวันตก ลมขั้วโลก ตามสถานที่เฉพาะถิ่นจะมีลมบก ลมทะเล 
ลมว่าว ลมตะเภา    เป็นต้น แต่ลมภูเขา ลมบก ลมทะเล เกิดจากการรับความร้อนและการคายความร้อนไม่เท่ากัน    
คุณสมบัติของน้ำจะรับความร้อนช้าคายความร้อนเร็ว คุณสมบัติของดินจะรับความร้อนเร็วกว่าน้ำคายความร้อนช้ากว่าน้ำ
คุณสมบัติของหินภูเขา จะรับความร้อนเร็วกว่าดินคายความร้อนเร็วกว่า 








































































การหมุนเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร เกิดจากอิทธิพลของลมและอิทธิพลของการรับความร้อนมากน้อยของกระแสน้ำในมหาสมุทร
จะทำให้เกิดกระแสน้ำเย็นไหลมายังเขตอบอุ่นและเขตร้อน และกระแสน้ำร้อนไหลจากเขตร้อน
ไปยังเขตอากาศเย็น เช่น กระแสน้ำอุ่นกัลฟสตรีม กระแสน้ำเย็นแลบราดอร์ เป็นต้น






























































ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดวัฏจักรของน้ำ วัฏจักรของน้ำทำให้เกิดชีวิตเกิดฝน เกิดเมฆหมอก หยาดน้ำค้าง ไอน้ำในบรรยากาศ หรืออาจกล่าวได้ว่า วัฏจักรของน้ำทำให้เกิดชีวิตและสิ่งแวดล้อม วัฏจักรของน้ำเกิดจาก ขณะที่บรรยากาศร้อยขยายตัวลอยขึ้นเบื้องบนพาไอน้ำไปด้วย และในเงื่อนไขของอุณหภูมิที่ต่าง ๆ กัน รวมทั้งสถานการณ์สิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ลมกระแสอากาศ จึงทำให้เกิดเมฆฝน พายุฝนฟ้าคะนอง ลูกเห็บ






















































รังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ รังสีอัลตราไวโอเลตเป็นรังสีที่ทำอันตรายต่อมนุษย์ เช่น
โรคต้อกระจก โรคภูมิแพ้ ผิวหนังที่ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตนาน ๆ อาจเป็นมะเร็งได้ ในบรรยากาศมีชั้น
โอโซน (Ozone) ประกอบด้วยออกซิเจน 2 อะตอม (O+O) ชั้นโอโซนจะมีความหนาพอสมควร ทำหน้าที่รับรังสีอัลตราไวโอเลตไว้ รังสีที่เหลือลงมายังโลกมีเพียงส่วนน้อยไม่ทำอันตรายต่อมนุษย์






 








 
อ้างอิง
-http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/sunshine/SUN-1.htm
-http://www.namyen2009.ob.tc/kalok.htm






















วิวัฒนาการ ของดาวฤกษ์ เปรียบเทียบความสว่างของดวงดาว แบ่งอันดับความสว่างที่เห็นด้วยตาเปล่า สีและอุณหภูมิของดาวฤกษ์ วิธีวัดระยะห่างระหว่างดวงดาว

วิวัฒนาการ ของดาวฤกษ์ เปรียบเทียบความสว่างของดวงดาว แบ่งอันดับความสว่างที่เห็นด้วยตาเปล่า สีและอุณหภูมิของดาวฤกษ์ วิธีวัดระยะห่างระหว่างดวงดาว


เส้นเวลาแสดงอายุของดวงอาทิตย์
วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ เป็นกระบวนการที่ดาวฤกษ์เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบภายในตามลำดับไปในช่วงอายุของมัน ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันตามขนาดของมวลของ ดาวฤกษ์นั้นๆ อายุของดาวฤกษ์มีตั้งแต่ไม่กี่ล้านปี (สำหรับดาวฤกษ์ที่มีมวลมากๆ) ไปจนถึงหลายล้านล้านปี (สำหรับดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย) ซึ่งอาจจะมากกว่าอายุของเอกภพเสียอีก
การศึกษาวิวัฒนาการของดาวฤกษ์มิได้ทำเพียงการเฝ้าสังเกตดาวดวงหนึ่งดวงใด ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้ามากจนยากจะตรวจจับได้แม้เวลาจะผ่าน ไปหลายศตวรรษ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ทำความเข้าใจกับวิวัฒนาการของดาวฤกษ์โดยการสังเกตการณ์ดาวจำนวนมาก โดยที่แต่ละดวงอยู่ที่ช่วงอายุแตกต่างกัน แล้วทำการจำลองโครงสร้างของดาวออกมาโดยใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ช่วย 
ความสว่างและอันดับความสว่างของดาวฤกษ์
ความสว่างของดาวฤกษ์เป็น พลังงานแสงทั้งหมดที่แผ่ออกมาใน 1 วินาที ส่วนอันดับความสว่างเป็นตัวเลขที่กำหนดขึ้น โดยกำหนดให้ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเมื่อมองด้วยตาเปล่า มีอันดับความสว่างเป็น 1 ส่วนดาวฤกษ์ที่มองเห็นแสงสว่างริบหรี่ มีอันดับความสว่างเป็น 6 ดาวที่มีอันดับความสว่างต่างกัน 1 ความสว่างจะต่างกันประมาณ 2.5 เท่า
- ความสว่าง (brightness) ของดาว คือ พลังงานแสงจากดาวที่ตกบน 1 หน่วยพื้นที่ ในเวลา 1 วินาที
- อันดับความสว่าง (brightness) ของดาวฤกษ์ เป็นตัวเลขที่กำหนดขึ้นเพื่อแสดงการรับรู้ความสว่างของผู้สังเกตดาวฤกษ์ด้วย ตาเปล่า ดาวที่มองเห็นสว่างที่สุดมีอันดับความสว่างเป็น 1 และดาวที่เห็นสว่างน้อยที่สุดมีอันตับความสว่างเป็น 6 นั่นคือดาวยิ่งมีความสว่างน้อย อันดับความสว่างยิ่งสูงขึ้น หรืออยู่อันดับท้าย ๆ ส่วนดาวสว่างมากอยู่อันดับต้น ๆ
 
- ดาวซีรีอัสเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้าเวลากลางคืน
- ส่วนดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุด คือ ดาวศุกร์
ถ้าอันดับความสว่างของดาวต่างกัน n แสดงว่าดาวทั้งสองดวงจะสว่างต่างกัน (2.512)n เท่า ดังตาราง
- ดาวฤกษ์ริบหรี่ที่สุดที่มองเห็นได้ในเมืองใหญ่มีความสว่างมากกว่าดาวฤกษ์ ริบหรี่ที่สุดที่อาจมองเห็นได้ในชนบท 16 เท่า ซึ่งคำนวณได้ดังนี้
ดาวฤกษ์ทั้งสองดวงมีอันดับความสว่างต่างกัน 3 ดังนั้น ความสว่างจะต่างกัน ประมาณ 16 เท่า

สีและอุณหภูมิของดาวฤกษ์
ถ้าเราดูให้ดีแล้วจะเห็นว่าดาวฤกษ์แต่ละดวงนั้นมีสีไม่เหมือนกันแต่เดิมนั้น มีการจำแนกสีดาวฤกษ์ออกเป็น 4 ประเภท คือ แดง ส้ม เหลือง และขาว แต่ละสีแทน อุณหภูมิของดาวฤกษ์ สีขาวแทนดาวฤกษ์ที่ร้อนจัดที่สุด ส่วนสีแดงแทนดาวฤกษ์ที่ร้อนน้อยที่สุด การให้สีอย่างนี้ก็คล้ายกับสีของชิ้นเหล็กที่กำลังถูกไฟเผา ในตอนแรกมันจะร้อนแดงก่อน ต่อมาเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นสีของมันก็จะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป็นสีขาวแกมน้ำเงินในที่สุด แต่นักดาราศาสตร์ปัจจุบันได้จำแนกสีของดาวฤกษ์ตามอุณหภูมิของมันเป็น 7 ประเภทใหญ่ๆ


อันดับความสว่างของดาวฤกษ์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. อันดับความสว่างปรากฏ เป็นอันดับความสว่างของดาวฤกษ์ที่สังเกตได้จากโลกที่มองเห็นด้วย ตาเปล่า แต่ไม่สามารถเปรียบเทียบความสว่างจริงของดาวแต่ละดวงได้ เนื่องจากระยะทางระหว่างโลกและดวงดาวมีผลต่อการมองเห็นความสว่าง ดาวที่มีความสว่างเท่ากันแต่อยู่ห่างจากโลกต่างกัน คนบนโลกจะมองเห็น ดาวที่อยู่ใกล้สว่างกว่าดาวที่อยู่ไกล
2. อันดับความสว่างที่แท้จริง เป็นความสว่างจริงของดวงดาว การบอกอันดับความสว่างที่แท้จริงของดวงดาวจึงเป็นค่าความสว่างปรากฏของดาวใน ตำแหน่งที่ดาวดวงนั้นอยู่ห่างจากโลกเท่ากัน คือ กำหนดระยะทาง เป็น 10 พาร์เซก หรือ 32.61 ปีแสง เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบความสว่างจริงของดาวได้
อันดับความสว่างปรากฏและอันดับความสว่างแท้จริงมีค่าไม่เท่ากัน เช่น ดาวพรอกซิมาเซนเทารีในกลุ่มดาวเซนทอร์มีอันดับความสว่างปรากฏเป็น 10.7 แต่มีอันดับความสว่างแท้จริงเป็น 14.9 เป็นต้น 

ระยะห่างของดาวฤกษ์
ดาวฤกษ์อยู่ห่างจากโลก มาก และระยะระหว่างดาวฤกษ์ด้วยกันเองก็ห่างไกลกันมากเช่นกัน การบอกระยะทางของดาวฤกษ์จึงใช้หน่วยของระยะทางต่างไปจากระยะทางบนโลก ดังนี้
1. ปีแสง (lightyear หรือ Ly.) คือ ระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี อัตราเร็วของแสงมีค่า 33108 เมตร/วินาที ดังนั้นระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 931012 กิโลเมตร เช่น ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลก 8.3 นาทีแสง หรือประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร ดาวแอลฟาเซนเทารีในกลุ่มดาวเซนทอร์อยู่ห่างจากโลก 4.26 ปีแสง หรือ 4031012 กิโลเมตร เป็นต้น
2. หน่วยดาราศาสตร์ (astronomical unit หรือ A.U) คือ ระยะทางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ระยะทาง 1 A.U มีค่า 150 ล้านกิโลเมตร
3. พาร์เซก (parsec) เป็นระยะทางที่ได้จากการหาแพรัลแลกซ์ (parallax) ของดวงดาว ซึ่งเป็นวิธีวัดระยะห่างของดาวฤกษ์ที่อยู่ค่อนข้างใกล้โลก
อยนตำแหน่ง เมื่อ สังเกตจากโลกในเวลาที่ห่างกัน 6 เดือน เพราะจุดสังเกตดาวฤกษ์ทั้ง 2 ครั้งอยู่ห่างกันเป็นระยะทาง 2 เท่าของระยะทางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ 1 พาร์เซกมีค่า 3.26 ปีแสง

จากรูป P คือ มุมแพรัลแลกซ์ของดาวฤกษ์ที่ต้องการวัดระยะห่าง มีหน่วยเป็นฟิลิปดา และแปลงค่าเป็นหน่วยเรเดียน


อ้างอิง

-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C

-http://www.anek2009.ob.tc/earth_astro/eart12.htm