Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะในกาแล็กซี อิทธิพลของดวงอาทิตย์ที่มีต่อโลก

กาแล็กซีทางช้างเผือกกับตำแหน่งของโลก
"เตคีออน"
ตำแหน่งของโลกที่อยู่ใกล้ขอบนอกของกาแล็กซีทางช้าง เผือก เป็นตำแหน่งดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับตำแหน่งของโลก ถ้าไปเกิดอยู่ใกล้แถบบริเวณใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก
สำหรับผลกระทบจากสิ่งที่มนุษย์เพิ่งทราบว่า มีอยู่ที่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก สิ่งนั้นคือ หลุมดำยักษ์ !
หลุมดำ หรือ Black Hole เป็นวัตถุที่แปลกชวนพิศวงในอวกาศ เป็นซากดวงดาว หรือวาระสุดท้ายแบบหนึ่งของดาวฤกษ์ ซึ่งเมื่อพบกับวาระสุดท้าย
ก็เปลี่ยนสภาพไปเป็นดาวล่องหน คือ ยังมีตัวตนอยู่ แต่ไม่สามารถจะส่องเห็นได้ โดยที่อิทธิพลจากแรงดึงดูดโน้มถ่วงของมวลก็ยังคงมีอยู่
หลุมดำ มีทั้งที่เป็นหลุมดำซากดาวฤกษ์เดี่ยวๆ (แต่ที่ค้นพบแล้ว มักเป็นหลุมดำที่เป็นดาวคู่แฝดกับดาวฤกษ์ธรรมดาอีกดวงหนึ่ง)
ดังเช่น ซิกนัส เอกซ์-1 (Cygnus X-1) อยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือก และหลุมดำขนาดยักษ์อยู่ที่ใจกลางกาแล็กซีส่วนใหญ่
สำหรับกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา มีหลักฐานคือ รังสีเอ็กซ์เข้มข้นออกมาจากแถบบริเวณใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก
ซึ่งคำอธิบายเป็นไปได้มากที่สุด คือ รังสีเอ็กซ์เกิดจากการที่ก๊าซร้อนมีประจุไฟฟ้า อันเป็นมวลสารของดวงดาวและบรรดาก๊าซในแถบบริเวณนั้น
ถูกแรงดึงดูดโน้มถ่วงมหาศาลของหลุมดำยักษ์ ดึงดูดวิ่งวนเข้าหา และก็เป็นธรรมชาติของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า
ถ้าเคลื่อนที่ด้วยความเร่งสูง ก็จะต้องปล่อยพลังงานในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา จากความเข้มและระดับพลังงาน คือ ความถี่ของรังสีเอ็กซ์
ที่กล้องโทรทรรศน์ของโลกจับได้ นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถคำนวณได้ว่า หลุมดำที่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก มีมวลประมาณเท่าใด...
และเมื่อกลางปี ค.ศ.2000 ก็มีข้อมูลใหม่จากคณะนักดาราศาสตร์โลก ซึ่งได้ศึกษาสภาพการเคลื่อนที่ของบรรดาดาวฤกษ์รอบๆ
หลุมดำยักษ์ เพื่อหาตำแหน่งและมวลที่แน่ชัดขึ้นของหลุมดำยักษ์ สรุปออกมาว่า หลุมดำยักษ์ที่แถบบริเวณใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก
มีมวลประมาณ 2.6 ล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์
ดังนั้น ถ้าโลกมีตำแหน่งอยู่ในแถบบริเวณใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก ก็จะถูกคุกคามโดยหลุมดำยักษ์ด้วย
แล้วตำแหน่งของดาวเคราะห์โลกที่อยู่แถบขอบนอกของกาแล็กซีทางช้างเผือก จะปลอดภัยจากหลุมดำยักษ์ที่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกหรือ ?
เป็นความจริงว่า หลุมดำยักษ์ที่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก มีแต่จะเพิ่มมวลมากขึ้น
เพราะดึงดูดหรือกลืนกินบรรดาดวงดาวและก๊าซในแถบบริเวณใกล้เคียง ทำให้หลุมดำเสมือนหนึ่งมีขนาดโตขึ้น และเป็นไปได้ว่า ในที่สุดแล้ว
กาแล็กซีทางช้างเผือกทั้งกาแล็กซี จะกลายเป็นหลุมดำไปทั้งหมด ซึ่งถ้าโลกยังอยู่ถึงวันที่หลุมดำยักษ์ของกาแล็ก ซีทางช้างเผือกขยายขนาด
จริงๆ แล้ว เป็นการขยายแนวเส้นขอบฟ้าเหตุการณ์ หรือ Event Horizon ของหลุมดำ เพราะมวลทั้งหมดของหลุมดำ จะไปรวมกันที่ตำแหน่งใจกลาง เรียก Singularity มาใกล้โลก โลกก็จะถูกกลืนกินโดยหลุมดำยักษ์ !
แต่...ตามความรู้เกี่ยวกับระบบสุริยะดีที่สุดถึง ปัจจุบัน โลกจะอยู่ไม่ถึงวันที่หลุมดำยักษ์ของกาแล็กซีทางช้างเผือกขยายขนาดมาถึงโลก เ
พราะโลกจะพบกับวาระสุดท้ายเสียก่อนในอีกประมาณ ห้าพันล้านปีข้างหน้า จากการขยายตัวของดวงอาทิตย์ที่จะเปลี่ยนสภาพไปเป็นดาวยักษ์แดง
ดังนั้น มนุษย์โลกจึงน่าจะยินดีที่มีกำเนิดอยู่บนดาวเคราะห์โลก ที่มีตำแหน่งดีที่สุดตำแหน่งหนึ่งในกาแล็กซีทางช้างเผือก
และช่วยกันบำรุงรักษาดาวเคราะห์โลกให้ดีที่สุด ขณะเดียวกัน ก็พยายามเรียนรู้เกี่ยวกับอวกาศและจักรวาล ที่จะต้องเป็นบ้านใหม่ของมนุษย์ต่อไปในอนาคต

 

 อิทธิพลของดวงอาทิตย์ที่มีต่อโลก
 ดวงอาทิตย์ทำให้สภาพภูมิอากาศของโลกแตกต่างกัน  เขตต่างๆ ของโลกที่สำคัญๆ คือ
เขตร้อน เขตอบอุ่น และเขตหนาว เพราะเขตร้อนได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ที่มีระยะทางสั้นที่สุด    จึงทำ
ให้ร้อนที่สุด ส่วนเขตอบอุ่น เขตหนาว ระยะของแสงจะยาวขึ้นไปตามลำดับ




































ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดการหมุนเวียนของกระแสอากาศ ในเวลาเดียวกัน
 แต่ละเขตแต่ละถิ่นจะได้รับแสงอาทิตย์ไม่เท่ากันและระบายความร้อนไม่เท่ากัน    เมื่ออากาศ ณ ที่แห่งหนึ่ง
ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์จะมีคุณสมบัติเบาขยายตัวลอยสูงขึ้น    ณ ที่อีกแห่งหนึ่งมวลอากาศเย็น ซึ่งมี
ความหนาแน่นมากกว่าเคลื่อนตัวเข้ามาแทนที่ ขณะที่มวลอากาศที่เย็นกว่าเคลื่อนตัวมาแทนที่ เราเรียกว่า “ลม” 
หรือการหมุนเวียนของกระแสอากาศ    และแต่ละแห่งของโลกจะมีอุณหภูมิแตกต่างกันตามเขตร้อน เขตอบอุ่น 
เขตหนาว จะมีลมประจำปีคือ    ลมมรสุม ลมตะวันตก ลมขั้วโลก ตามสถานที่เฉพาะถิ่นจะมีลมบก ลมทะเล 
ลมว่าว ลมตะเภา    เป็นต้น แต่ลมภูเขา ลมบก ลมทะเล เกิดจากการรับความร้อนและการคายความร้อนไม่เท่ากัน    
คุณสมบัติของน้ำจะรับความร้อนช้าคายความร้อนเร็ว คุณสมบัติของดินจะรับความร้อนเร็วกว่าน้ำคายความร้อนช้ากว่าน้ำ
คุณสมบัติของหินภูเขา จะรับความร้อนเร็วกว่าดินคายความร้อนเร็วกว่า 








































































การหมุนเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร เกิดจากอิทธิพลของลมและอิทธิพลของการรับความร้อนมากน้อยของกระแสน้ำในมหาสมุทร
จะทำให้เกิดกระแสน้ำเย็นไหลมายังเขตอบอุ่นและเขตร้อน และกระแสน้ำร้อนไหลจากเขตร้อน
ไปยังเขตอากาศเย็น เช่น กระแสน้ำอุ่นกัลฟสตรีม กระแสน้ำเย็นแลบราดอร์ เป็นต้น






























































ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดวัฏจักรของน้ำ วัฏจักรของน้ำทำให้เกิดชีวิตเกิดฝน เกิดเมฆหมอก หยาดน้ำค้าง ไอน้ำในบรรยากาศ หรืออาจกล่าวได้ว่า วัฏจักรของน้ำทำให้เกิดชีวิตและสิ่งแวดล้อม วัฏจักรของน้ำเกิดจาก ขณะที่บรรยากาศร้อยขยายตัวลอยขึ้นเบื้องบนพาไอน้ำไปด้วย และในเงื่อนไขของอุณหภูมิที่ต่าง ๆ กัน รวมทั้งสถานการณ์สิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ลมกระแสอากาศ จึงทำให้เกิดเมฆฝน พายุฝนฟ้าคะนอง ลูกเห็บ






















































รังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ รังสีอัลตราไวโอเลตเป็นรังสีที่ทำอันตรายต่อมนุษย์ เช่น
โรคต้อกระจก โรคภูมิแพ้ ผิวหนังที่ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตนาน ๆ อาจเป็นมะเร็งได้ ในบรรยากาศมีชั้น
โอโซน (Ozone) ประกอบด้วยออกซิเจน 2 อะตอม (O+O) ชั้นโอโซนจะมีความหนาพอสมควร ทำหน้าที่รับรังสีอัลตราไวโอเลตไว้ รังสีที่เหลือลงมายังโลกมีเพียงส่วนน้อยไม่ทำอันตรายต่อมนุษย์






 








 
อ้างอิง
-http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/sunshine/SUN-1.htm
-http://www.namyen2009.ob.tc/kalok.htm






















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น